SKII เผยผลการสำรวจเกี่ยวกับภาวะกดดันเรื่องอายุของผู้หญิงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พบว่า ผู้หญิงเพียง 2 จาก 10 คนเท่านั้น ที่ไม่รู้สึกแย่กับการมีอายุมากขึ้น

กว่าครึ่งหนึ่งของผู้หญิงเอเชียที่เข้าร่วมการสำรวจเผยว่า ตนเองรู้สึกไม่ดีและไม่พอใจกับมุมมองที่ผู้อื่นมีต่อสถานะของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมุมมองเกี่ยวกับอายุหรือสถานภาพทางการสมรส ซึ่งมีผู้หญิงถึงร้อยละ 72  ในประเทศเกาหลีใต้ และร้อยละ 62 ในประเทศจีนที่ต้องตอบคำถามในประเด็นนี้จากคนรอบข้างและรู้สึกไม่สบายใจ

ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้นำมาเป็นสองอันดับแรกที่ผู้หญิงรู้สึกไม่มีความสุขกับการมีอายุมากขึ้น ซึ่งผู้หญิงญี่ปุ่นจาก 6 ใน 10 คน และผู้หญิงเกาหลีใต้เกินครึ่งที่รู้สึกแบบนี้เช่นกัน ส่วนในประเทศจีน ผู้หญิงโสดกว่า 6 ใน 10 คน ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี ต่างชี้ว่า การหาคู่ที่เหมาะสมเพื่อแต่งงาน เป็นเรื่องที่ชวนให้เครียดที่สุดสำหรับผู้หญิงโสดในวัยของตน

สำหรับในประเทศไทยเอง ร้อยละ 56 ของผู้หญิงไทยคิดว่าช่วงวัยที่ดีที่สุดในชีวิตของผู้หญิงที่หลายๆอย่างลงตัว คือช่วงอายุไม่เกิน 30 ปี มีเพียงร้อยละ 15 เท่านั้นที่คิดว่าช่วงอายุ 31-40 เป็นช่วงอายุที่ดีที่สุด ซึ่งมีสัดส่วนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน แสดงให้เห็นถึงการมีช่วงอายุที่ตั้งไว้ในใจ และในด้านของสาเหตุความเครียด ผู้หญิงไทยเกือบครึ่งหนึ่งระบุว่า การต้องตอบคำถามจากสังคมรอบข้าง อาทิ เพื่อน ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน เป็นต้นเหตุของความเครียดของพวกเธอ ซึ่งผลการสำรวจเหล่านี้เน้นย้ำให้เห็นถึงปัญหาทางสังคมอย่างกว้างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะกดดันเรื่องอายุ

เพื่อเป็นการต่อยอดแนวคิด #changedestiny ของแบรนด์และต่อยอดแคมเปญ “Marriage Market Takeover” ของประเทศจีนในปีที่แล้ว เอสเค-ทู ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวชั้นสูง มุ่งที่จะนำเสนอประเด็นดังกล่าวด้วยการสร้างสรรค์แคมเปญใหม่ ที่ขยายออกมาจากแคมเปญของเอสเค-ทูในประเทศจีน โดยมีประเทศญี่ปุ่นและ    เกาหลีใต้เข้าร่วมแคมเปญนี้ด้วย เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการพูดถึงประเด็นดังกล่าวในระดับเอเชียแปซิฟิก

หัวใจของแคมเปญใหม่นี้ คือ ภาพยนตร์สั้น “The Expiry Date” สามารถรับชมได้ที่

ในภาพยนตร์เรื่องนี้ เอสเค-ทู ได้นำความคิดของผู้หญิงหลายๆคนที่รู้สึกว่าตนเองมีวันหมดอายุอยู่ในตัว มาตีความให้เห็นจริง ผ่านเรื่องราวของผู้หญิง 3 คน ที่ได้เดินทางผ่านแต่ละช่วงวัยในชีวิตพร้อมกับความกดดันทั้งจากภายในและภายนอกเรื่องอายุ ที่ค่อยๆเกิดขึ้นจากกรอบที่สังคมวางไว้ ผ่านการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ด้วยการประทับตราตัวเลขวันหมดอายุลงบนท้องแขน ซึ่งจะปรากฏชัดขึ้นเรื่อยๆตามอายุที่มากขึ้น

จุดประสงค์ของภาพยนตร์คือการแสดงให้เห็นถึงลำดับของชีวิตที่สังคมกำหนดให้ผู้หญิง และเพื่อจุดประเด็นเกี่ยวกับภาวะความกดดันเรื่องอายุที่ผู้หญิงทั่วทั้งเอเชียและทั่วโลกต่างประสบ

 

จากมุมมองของดร.แซนดี โท ผู้เชี่ยวชาญ นักสังคมศาสตร์และผู้เขียนหนังสือ China’s Leftover Women (Routledge 2015)  กล่าวเสริมว่า “ภาวะการเลือกปฏิบัติจากการตัดสินเรื่องอายุถือเป็นปัญหาระดับโลกที่ผู้หญิงต้องเผชิญในทุกวันนี้ โดยเฉพาะผู้หญิงโสด ความกดดันจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นเมื่อพวกเธออยู่ในวัย 30กลางๆ หรือเมื่อมีอายุ 35 ปีขึ้นไป เมื่อถึงช่วงวัยหนึ่ง หากผู้หญิงคนนั้นยังโสดและไม่มีครอบครัวเป็นของตัวเอง สังคมก็จะมองว่าเธอนั้นผิดปกติ” แม้ว่าร้อยละ 70 ของผู้หญิงเอเชียกล่าวว่าความรู้สึกกดดันที่ตัวเองต้องมีอายุมากขึ้นนั้นเป็นความกดดันภายใน แต่พวกเธอส่วนใหญ่ก็ต้องการที่จะเปิดใจคุยเรื่องดังกล่าว ซึ่งผู้หญิงกว่า 7 ใน 10 จากทั่วเอเชียเผยว่า พวกเธอต้องการพูดคุยกับคนอื่นๆ เรื่องความวิตกกังวลจากการมีอายุมากขึ้น

 

นอกเหนือจากการนำเสนอภาพยนตร์นี้ เอสเค-ทูหวังว่าจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขจัดความคิดในแง่ลบเกี่ยวกับอายุของผู้หญิงด้วยการส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนไหวระดับภูมิภาค รณรงค์ให้ติดแฮชแท็ก “#INeverExpire” เพื่อเป็นพื้นที่เปิดกว้างให้ผู้หญิงได้เปิดใจ แสดงความคิดเห็น และความรู้สึกลึกๆ เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว

Sandeep Seth, Brand Director, Global SK-II กล่าวว่า “เมื่อสองปีที่แล้ว เอสเค-ทู ได้ออกแคมเปญ #ChangeDestiny ซึ่งเป็นการแสดงเจตนารมณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความเชื่อของสังคมที่ว่าโชคชะตาของเรานั้นถูกกำหนดไว้แล้วตั้งแต่เกิดและทำให้ผู้คนหันมาสนใจในประเด็นนี้

ต่อมา เรายังได้ถกกันเรื่องปัญหาต่างๆ ที่ผู้หญิงต้องพบเจอ ในฐานะที่ประเด็นเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิด #ChangeDestiny ซึ่งจากแคมเปญ “The Marriage Market Takeover” เราพบว่าความกดดันที่จะต้องแต่งงานก่อนอายุ 25 และความกลัวที่จะต้องถูกตราหน้าว่าเป็น “ผู้หญิงที่ขายไม่ออก” หลังอายุ 27 นั้น ถือว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่ทำให้ผู้หญิงโสดในประเทศจีนเครียดที่สุด

หลังจากที่ออกแคมเปญดังกล่าว ก็มีผู้หญิงจากทั่วทุกมุมโลกออกมาแสดงความสนใจและมีส่วนร่วมกับแคมเปญนี้อย่างล้นหลาม ทำให้เราค้นพบว่าความกดดันเรื่องอายุนั้นไม่ได้เป็นเพียงปัญหาที่ผู้หญิงจีนประสบเท่านั้น หากแต่เป็นปัญหาของผู้หญิงทั่วโลกในภาพยนตร์สั้น “The Expiry Date” เราสื่อสารเรื่องวันหมดอายุของผู้หญิงที่ถูกสังคมกำหนด ออกมาเป็นภาพที่ชัดเจนเพื่อแสดงถึงความกดดันเรื่องอายุที่ผู้หญิงเผชิญอยู่

เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าภาพยนตร์ ‘The Expiry Date’ จะช่วยรณรงค์ให้เกิดกระแสที่ดีในระดับโลกและภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อส่งเสริมความคิดที่ว่าทุกคนควรภูมิใจกับทุกความสำเร็จในชีวิตและภูมิใจในสิ่งที่ตัวเองเป็น ไม่ว่าจะมีอายุเท่าใด เพศอะไร และไม่ควรรู้สึกว่าตัวเองถูกจำกัดไว้ภายใต้กรอบของลำดับขั้นตอนในชีวิต และวันหมดอายุที่สังคมกำหนด”