ด้วยความร้อนแรงของแดดประเทศไทย ที่มองยังไงก็เหมือนอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ยิ่งกว่าดาวพุธซะอีก และด้วยเหตุนี้ถ้าเราไม่รีบปกป้องผิวจากแสงแดดแล้วล่ะก็ รับรองว่าอีกไม่นานต้องมานั่งเสียใจทีหลังแน่นอน ด้วยคำกล่าวที่ว่ากันไว้ดีกว่าแก้ ‘ครีมกันแดด’ จึงเรียกได้ว่าเป็นปัจจัยที่ 5 ในการดำรงชีวิตเลยทีเดียว

 

แต่ปัจจุปัน ครีมกันแดด ในท้องตลาดมีเยอะยิ่งกว่าการผักในตลาดซะอีก จะเลือกสูตรที่เหมาะจากแบรนด์ ฉลาก และเทคโนโลยีที่ระบุไว้ก็ดูน่าสับสน วันนี้ The Passion จึงนำวิธีดี ๆ มานำเสนอ รับรองว่าเปิดโลกแน่นอน!

 1. มองหาครีมกันแดดแบบ broad-spectrum 

หลายปีก่อนเรายังคงเคยชินกับการเลือกหยิบครีมกันแดดที่มี SPF สูงที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม SPF หมายถึงค่าการป้องกันรังสี UVB เท่านั้น แต่สิ่งที่เราต้องระวังก็คือรังสี UVA ซึ่งอาจไม่ใช่ตัวการหลักในการเกิดอาการผิวไหม้แดด แต่แย่กว่าตรงที่มันดันเป็นตัวช่วยเพิ่มโอกาสการเกิดมะเร็งผิวหนังเนี่ยสิ! นอกจากนี้ 90% ของสาเหตุที่ทำให้เกิดการแก่ตัวของผิวยังเกิดมาจากการหมั่นเจอรังสี UVA ในตลอดชีวิตของเราด้วย ดังนั้นเราจึงต้องเลือกครีมกันแดดแบบ broad-spectrum อยู่เสมอ เพราะนี่คือครีมกันแดดประเภทเดียวที่ให้การปกป้องผิวจากทั้งรังสี UVB และ UVA

 2.  SPF กับ UVB 

หลังจากได้ทราบกันไปแล้วว่า SPF คือค่าการปกป้องผิวจากอาการไหม้แดดเท่านั้น แต่ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาผิวอย่าง UVA ยังคงลอยนวลอยู่ หลายคนอาจคิดว่า อ้าว! แล้วมันมีประโยชน์อะไรล่ะ เราจะมาขยายความกันในข้อนี้ SPF คือสิ่งที่บอกว่าหากผิวของคุณจะเกิดอาการไหม้แดดภายใน 10 นาที ซึ่งถ้าหากครีมกันแดดของคุณระบุว่า SPF15 หมายความว่ามันจะยืดเวลาการไหม้แดดของคุณไป 10นาที x ค่าSPF ซึ่งก็จะเท่ากับ 150 นาทีนั่นเอง การทาให้ให้ได้ตามปริมาณที่แนะนำก็มีผลมากทีเดียว ถ้าพูดให้ละเอียดขึ้นไปอีกก็คือ มีเพียง 1/15 ของรังสีทั้งหมดที่จะทำให้ผิวคุณไหม้

แต่มีอีกข้อเท็จจริงหนึ่งที่อาจไม่เป็นไปตามที่คุณเข้าใจ SPF30 ไม่ได้แปลว่าจะมีค่าการปกป้องผิวมากกว่า SPF15 2 เท่าซะเมื่อไหร่?! ในความเป็นจริงแล้ว SPF15 บล็อค 93% ของรังสี UVB ในขณะที่ SPF30 กรองรังสีออกไปมากกว่านั้นเพียงเล็กน้อย – 97% เท่านั้น

ในขณะเดียวกันก็มีความจริงสุดช็อคอีกข้อที่ว่า ครีมกันแดดที่มีค่า SPF สูงกว่าไม่ได้หมายความว่าจะอยู่ได้นานกว่าอันที่ต่ำกว่าซักหน่อย! ซึ่งไม่ว่า SPF จะสูงหรือต่ำก็ควรทาซ้ำอยู่เสมอตามคำแนะนำเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด ในทรีปยุโรปและอเมริกา กำหนดให้ฉลากครีมกันแดดระบุค่า SPF ได้สูงสุดที่ SPF50 เพื่อป้องกันการโฆษณาเกินจริง เพราะยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนว่าครีมกันแดดที่มี SPF มากกว่า 50 จะให้ประสิทธิภาพมากขึ้น

 3. ส่วนผสมเพื่อป้องกัน UVA  

แต่มันก็ไม่ได้ง่ายขนาดนั้นเมื่อพูดถึงการป้องกันผิวจาก UVA เพราะครีมกันแดดยังไม่สามารถระบุค่าการป้องกันที่แน่ชัดได้ ซึ่งค่า SPF นี่เราเห็นนั่นก็คือค่าการปกป้องผิวจากอาการไหม้แดดซึ่งเกิดจากรังสี UVB เท่านั้น! ดังนั้นสิ่งที่คุณควรให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งก็คือส่วนผสม มองหาครีมกันแดดที่มี zinc oxide, titanium dioxide, oxybenzone, ecamsule, sulisobenzone หรือ avobenzone ซึ่งสารเหล่านี้ได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่าสามารถปกป้องผิวจากรังสี UVA ได้!

 4. PA กับ UVA 

ในขณะที่ SPF ช่วยปกป้องรังสี UVB และอาการผิวหมองคล้ำจากการไหม้แดด ค่า PA นี่แหละที่ช่วยป้องกันรังสี UVA ที่ความจริงแล้วเป็นตัวร้ายเลย ด้วยรังสี UVA มีปริมาณในอากาศมากถึง 75% และมีความยาวคลื่นที่มากกว่ารังสี UVB ที่มีเพียง 25% ทำให้ทำร้ายลึกถึงชั้นผิวกว่ามากจนถึงขั้นเป็นมะเร็งผิวหนังเลยนะ และการลิมิต SPF ไว้ที่ 50 เท่านั้นทำให้การพัฒนาครีมกันแดดในปัจจุบันจึงมุ่งไปที่การเพิ่มค่า PA เพื่อการปกป้องที่ดีกว่าเดิม

แต่ก็ไม่ใช่ว่าค่า PA ที่มีอยู่ในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อการป้องกันรังสี UVA แต่สำหรับสาวแอคทีฟที่หลงรักกิจกรรมกลางแจ้งแล้ว การปกป้องจึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งขึ้นไปอีก! จากเดิมค่า PA+ จะมีค่า PPD (Persirtent Pigment Darkening คือค่าความสามารถในการป้องกันรังสี UVA) อยู่ที่ 2-4, PA++ จะมีค่า PPD อยู่ที่ 4-8 และ PA+++ จะมีค่า PPD อยู่ที่ 8-16 แต่ค่า PA++++ ที่เพิ่มขึ้นมา จะให้ค่า PPD มากกว่า 16 เท่ากับว่าสามารถป้องกันรังสี Long-UVA ได้

แต่บอกก่อนเลยว่าการเลือกซื้อครีมกันแดดนั้น ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละคน ถ้าคุณไม่ใช่คนที่ต้องออกแดดตลอดเวลา การใช้ครีมกันแดดที่มีค่าการป้องกันมาก ๆ ก็ไม่จำเป็น เลือกให้เหมาะกับตัวเราดีกว่า

 5. แล้ว Long-UVA คืออะไร?! 

Long-UVA คือ คลื่นทำลายชั้นผิวหนังได้ลึกมาก ส่งผลต่อระดับการทำงานและโครงสร้างผิว ทำให้สีผิวคล้ำขึ้น ผิวสูญเสียคอลลาเจน อีลาสติน และความยืดหยุ่นลดลง ทำให้เกิดริ้วรอยก่อนวัย จัดว่าร้ายกาจที่สุดในทุกสิ่ง! ท้าวความกันก่อนว่ารังสี UVA มีทั้งแบบที่ป้องกันได้และยังป้องกันไม่ได้ ซึ่ง Long-UVA ก็เคยอยู่ในจุดนั้นแหละ แต่วันนี้การวิจัยได้พัฒนาให้เราสามารถป้องกัน Long-UVA ได้แล้ว

 6. แสงอื่น ๆ 

  •  แสงที่ให้ความสว่าง (visible light) มีปริมาณ 45 % ของแสงแดดทั้งหมด แสงนี้มีพลังงานต่ำกว่าแสงยูวีหลายพันเท่า แต่ถ้าได้รับเป็นเวลานาน เช่น ตลอดทั้งวันก็สามารถทำให้ผิวคล้ำเสีย หรือ เสื่อมจากแดดได้ เนื่องจากสามารถกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระ และ ยากันแดดในปัจจุบันไม่สามารถป้องกันได้ ยกเว้น ยากันแดดที่มีส่วนประกอบของ Red iron oxide ซึ่งจะมีสีชมพูแดง หรือ การใช้ผ้าปกปิด

 

  • แสงอินฟราเรด หรือ แสงที่ให้ความร้อนมีปริมาณ 50% ของแสงแดดทั้งหมด และมีพลังงานต่ำกว่าแสงที่ให้ความสว่าง ดังนั้นจึงมีพลังงานต่ำที่สุด สามารถทำให้เกิดผิวคล้ำ และผิวเสื่อมจากแดดเนื่องจากสามารถกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระได้ แต่ต้องใช้ปริมาณสูงมากเช่นกัน ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันแสงอินฟราเรด ที่มีประสิทธิภาพนอกจากการหลีกเลี่ยงการสัมผัส

 

  • Blue Light (แสงสีฟ้า) บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ และอุกรณ์สมาร์ทโฟนต่างๆ สาเหตุของความหมองคลำจุดด่างดำบนผิว

 

  • แสง Near-infrared ที่มาพร้อมกัแสงอาทิตย์ ละอองเกสร มลพิษรอบตัว รวมถึงกลิ่นเหม็น และความชื้น ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและเกิดขึ้นจากการกระทำของมนุย์ สามารถทำลายผิวชั้นเดอร์มิส (หนังแท้)

 7. ทาครีมกันแดดอย่างไร? 

สำหรับคนส่วนมากแล้ว แค่ใช้ครีมกันแดดแบบ broad-spectrum SPF15 ก็เอาอยู่แล้วล่ะ แต่ถ้าหากว่าคุณมีผิวที่อ่อนโยนมาก กำลังได้รับการรักษาจากแพทย์ หรืออยู่ในระหว่างการบำบัดซึ่งจะเพิ่มความไวต่อแสงแดด คุณเลือกครีมกันแดดแบบ SPF30 หรือสูงกว่านั้น และควรใช้ครีมกันแดดตามที่วิธีฉลากระบุเสมอ รวมถึงการทาให้ทั่วตัว ทาซ้ำในทุก ๆ 2 ชั่วโมง และทาหลังจากเหงื่อออกเยอะและการเช็ดตัว

หากคุณต้องการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ต้องเปียกน้ำ เลือกครีมกันแดดที่กันเหงื่อและน้ำ ซึ่งครีมกันแดดชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพหลังจากที่ลงน้ำไปแล้ว 40 นาที และคุณก็จำเป็นต้องทาใหม่เรื่อย ๆ ด้วย

 

 

จบไปแล้วกับวิธีที่จะช่วยให้สาว ๆ สามารถเลือก ‘ครีมกันแดด’ ได้ตรงสเปคเพื่อการแก้ปัญหาที่ตรงจุดมากขึ้น แถมยังมีข้อมูลเชิงลึกอีกมากมายที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ด้วยนะ! The Passion ยังมีทิปเด็ด ๆ มาอัพเดทกันอีกเพียบเลยนะ อย่าลืม Stay Tuned กันไว้ให้ดีล่ะ!